วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551

เครื้องหมายวรรคตอน

เครื่องหมายวรรคตอน
เครื่องหมายวรรคตอน คือ เครื่องหมายใช้แบ่งวรรคตอน หรือคั่นข้อความต่างๆ เพื่อเป็นประโยคที่ชัดเจนในการเขียนและอ่านให้ถูกต้อง จึงจะยกตัวอย่างเครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมเขียนในภาษาไทย ได้แก่

1. ( . ) เรียกว่า มหัพภาค
ใช้เขียนหลังอักษรย่อ เช่น พ.ศ. ย่อจาก พุทธศักราช
ค.ศ. ย่อจาก คริสศักราช
ด.ช. ย่อจาก เด็กชาย
ด.ญ. ย่อจาก เด็กหญิง
รร. ย่อมาจาก โรงเรียน
ร.ร. ย่อจาก โรงแรม

2. ( ) เรียกว่า นขลิขิต
ใช้เขียนอธิบายข้อความเพิ่มเติม เช่น ด.ช.อดิศัย โพธิ์ทอง (ประธานนักเรียนโรงเรียนวัดนาคนิมิตร)

3. ! เรียกว่า อัศเจรีย์ (เครื่องหมาย ตกใจ)
ใช้เขียนหลังคำอุทานบอกอาการ เช่น โอ้แม่เจ้า! ไฟไหม้! โอ้มายก๊อด! ขโมยขึ้นบ้าน!

4. “ ” เรียกว่า อัญประกาศ
ใช้เขียนคร่อมคำพูดที่ต้องการเน้น เช่น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระบรมราชนิพนธ์ เรื่อง “เงาะป่า” ที่จัดมาฉายเป็นภาพยนตร์การ์ตูนที่โด่งดังทุกวันนี้
5. ______ เรียกว่า สัญประกาศ
ใช้ขีดเส้นใต้ข้อความที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ เช่น
- หมายเหตุ ควรล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าก่อนทาผลิตภัณฑ์นี้บนใบหน้า
- ข้อควรระวัง ห้ามทาผลิตภัณฑ์นี้บนเนื้อเยื่อบอบบางบนใบหน้า อาจก่อให้เกิดกาแพ้ง่าย

6. ” เรียกว่า บุพสัญญา
ใช้เขียนเพื่อละข้อความที่ซ้ำกัน เช่น
ในสวนบ้านฉันปลูกต้นมะม่วง 10 ต้น
ต้นละมุด 12 ” ต้นส้ม 5 ”

7. = เรียกว่า เสมอภาค
ใช้เขียนคั่นข้อความที่มีความหมายเท่ากัน มักใช้ในทางคณิตศาสตร์ เช่น 5 + 5 = 10

8. - เรียกว่า ยัติภังค์
ใช้ขีดระหว่างคำที่ต้องการเขียนแยกพยางค์ให้ ห่างกัน เพื่อที่จะได้ทราบว่า มีความต่อเนื่องเป็นคำเดียว/ประโยคเดียวกัน เช่น ประวัติศาสตร์ อ่านว่า ปะ – วัต – ติ – สาด

9. ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย
ใช้เขียนท้ายคำเพื่อย่อคำให้สั้นลง เวลาอ่านต้องอ่าน คำเต็ม แต่ถ้าเขียนไว้ระหว่างตัวเลขจะเป็นการบอก วัน/เดือน ตามแบบจันทรคติ เช่น
โปรดเกล้า ฯ อ่านว่า โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
กรุงเทพ ฯ อ่านว่า กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุตยมหาดิลก ครบนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ (แต่ให้อ่านแค่ กรุงเทพมหานคร ตามการอ่านที่นิยมได้)
๗ ฯ ๑ อ่านว่า วันเสาร์ แรม ๙ค่ำ เดือนอ้าย(เดือนหนึ่ง)












ชนิดของประโยค
1. ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่ผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการแจ้งเรื่องราวต่าง ๆ ให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านได้ทราบ เช่น
ฉันชื่นชอบการร้องเพลงมากกว่าอะไรทั้งสิ้น

2.ประโยคปฏิเสธ คือ ประโยคที่ผู้พูดหรือผู้เขียนปฏิเสธหรือไม่ยอมรับ เมื่อมีผู้ถามคำถาม เช่น
ฉันไม่ขายเรือนหลังนี้เด็ดขาด
เขาไม่ใช่คนไทยแท้ ๆ
เธอมิอาจล่วงรู้ใจของฉันได้

3. ประโยคคำสั่ง คือ ประโยคที่ผู้พูดหรือผู้เขียนขอร้อง อ้อนวอน หรือสั่งให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น
ได้โปรดให้ความยุติธรรมกับคนยากไร้เถิดท่าน
กรุณาเก็บหนังสือไว้ที่ชั้นเดิม หลังจากอ่านเสร็จแล้ว
เธอเดินนำหน้าไปก่อนสิ

4. ประโยคคำถาม คือ ประโยคที่ผู้พูดหรือผู้เขียนใช้ถามผู้ฟังหรือผู้อ่านเพื่อให้ตอบในสิ่งที่ต้องการทราบ สามารถแบ่งได้เป็น ๒ ชนิด คือ คำถามสามัญและคำถามท้ายประโยค ซึ่งทำให้เกิดประโยคคำถาม ๒ ชนิด คือ คำถามชนิดขอข้อความและคำถามที่มีคำแสดงคำถามลงท้ายประโยค
4.1 คำถามชนิดขอข้อความ คือคำถามที่ต้องการถามเพื่อทราบคำตอบที่เป็นข้อความ มักปรากฎคำว่า “ใคร ทำไม ที่ไหน ฯลฯ” อยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ ที่เป็นส่วนที่จะถาม เช่น
ใครเป็นผู้ออกแบบอาคารแห่งนี้
ทำไม มนุษย์ถึงต้องห้ำหั่นกันเอง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตั้งอยู่ที่ไหน
4.2 คำถามที่มีคำแสดงคำถามลงท้ายประโยค คือ คำถามที่ตั้งการถามเพื่อทราบคำตอบที่เป็นการตอบรับหรือปฏิเสธ มักปรากฏคำว่า “หรือ หรือเปล่า ใช่ไหม ดีไหม จริงไหม ฯลฯ” ในส่วนท้ายของประโยค เช่น
ฉันทำการบ้านข้อนี้ถูกแล้วใช่ไหม
พวกเราไปเที่ยวทะเลกันสักทีดีไหม
วันพรุ่งนี้คือวันครบรอบวันเกิดของแม่หรือเปล่า




ประโยคทั้ง 4 ชนิด มีความเหมือน และความแตกต่างดังต่อไปนี้
1. ประโยคบอกเล่ากับประโยคปฏิเสธ มีดังนี้
ความเหมือน
1. ประโยคทั้ง 2 ชนิด จะมีส่วนขยายที่เป็นกาลหรือลักษณะการก็ได้
2. กริยาวลีในประโยคทั้ง 2 ชนิด จะมีนามวลีที่มีการสัมพันธ์ชนิดใดอยู่ด้วยก็ได้

ความต่าง
ประโยคปฏิเสธ จะมีคำว่า มิ หรือไม่ ต่างจากประโยคบอกเล่าที่ไม่มี

ตัวอย่าง
ผมยาวสลวยสีทองตัดกับนัยน์ตาสีฟ้าอมเทาของเธอ
หน้าตาของเธอไม่สะสวยเสียนิดเดียว

2. ประโยคบอกเล่าและปฏิเสธกับประโยคคำสั่ง มีดังนี้

ความต่าง
1. ประโยคคำสั่งไม่สามารถใส่คำแสดงกาลและลักษณะการใด ๆ ได้ ยกเว้นลักษณะการปกติ
เช่น นอนกันเถอะ นอนกันเถอะ
เคยนอนกันเถอะ กำลังนอนกันเถอะ
จะนอนกันเถอะ นอนกันแล้วเถอะ

2. ประโยคคำสั่งต้องมีนามวลีที่เป็นสรรพนามบุรุษที่ 2 อยู่ในประโยค แม้ว่าจะลดรูปไปแล้วหรือไม่ก็ตาม เช่น
กรุณาเลือกผมเถิดครับ
คุณกรุณาเลือกผมเถิดครับ
พวกท่าน กรุณาเลือกผมเถิดครับ

3. ประโยคคำถามกับประโยคบอกเล่า และประโยคปฏิเสธมีดังนี้
ความต่าง
ประโยคคำถามจะมีคำถามอยู่ในประโยคด้วยส่วนประโยคบอกเล่าและปฏิเสธนั้นไม่มี

ไม่มีความคิดเห็น:

ข่าว


ข่าวบันเทิง

ข่าวIT ประจำวัน

คลังบทความของบล็อก