วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551

เครื้องหมายวรรคตอน

เครื่องหมายวรรคตอน
เครื่องหมายวรรคตอน คือ เครื่องหมายใช้แบ่งวรรคตอน หรือคั่นข้อความต่างๆ เพื่อเป็นประโยคที่ชัดเจนในการเขียนและอ่านให้ถูกต้อง จึงจะยกตัวอย่างเครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมเขียนในภาษาไทย ได้แก่

1. ( . ) เรียกว่า มหัพภาค
ใช้เขียนหลังอักษรย่อ เช่น พ.ศ. ย่อจาก พุทธศักราช
ค.ศ. ย่อจาก คริสศักราช
ด.ช. ย่อจาก เด็กชาย
ด.ญ. ย่อจาก เด็กหญิง
รร. ย่อมาจาก โรงเรียน
ร.ร. ย่อจาก โรงแรม

2. ( ) เรียกว่า นขลิขิต
ใช้เขียนอธิบายข้อความเพิ่มเติม เช่น ด.ช.อดิศัย โพธิ์ทอง (ประธานนักเรียนโรงเรียนวัดนาคนิมิตร)

3. ! เรียกว่า อัศเจรีย์ (เครื่องหมาย ตกใจ)
ใช้เขียนหลังคำอุทานบอกอาการ เช่น โอ้แม่เจ้า! ไฟไหม้! โอ้มายก๊อด! ขโมยขึ้นบ้าน!

4. “ ” เรียกว่า อัญประกาศ
ใช้เขียนคร่อมคำพูดที่ต้องการเน้น เช่น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระบรมราชนิพนธ์ เรื่อง “เงาะป่า” ที่จัดมาฉายเป็นภาพยนตร์การ์ตูนที่โด่งดังทุกวันนี้
5. ______ เรียกว่า สัญประกาศ
ใช้ขีดเส้นใต้ข้อความที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ เช่น
- หมายเหตุ ควรล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าก่อนทาผลิตภัณฑ์นี้บนใบหน้า
- ข้อควรระวัง ห้ามทาผลิตภัณฑ์นี้บนเนื้อเยื่อบอบบางบนใบหน้า อาจก่อให้เกิดกาแพ้ง่าย

6. ” เรียกว่า บุพสัญญา
ใช้เขียนเพื่อละข้อความที่ซ้ำกัน เช่น
ในสวนบ้านฉันปลูกต้นมะม่วง 10 ต้น
ต้นละมุด 12 ” ต้นส้ม 5 ”

7. = เรียกว่า เสมอภาค
ใช้เขียนคั่นข้อความที่มีความหมายเท่ากัน มักใช้ในทางคณิตศาสตร์ เช่น 5 + 5 = 10

8. - เรียกว่า ยัติภังค์
ใช้ขีดระหว่างคำที่ต้องการเขียนแยกพยางค์ให้ ห่างกัน เพื่อที่จะได้ทราบว่า มีความต่อเนื่องเป็นคำเดียว/ประโยคเดียวกัน เช่น ประวัติศาสตร์ อ่านว่า ปะ – วัต – ติ – สาด

9. ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย
ใช้เขียนท้ายคำเพื่อย่อคำให้สั้นลง เวลาอ่านต้องอ่าน คำเต็ม แต่ถ้าเขียนไว้ระหว่างตัวเลขจะเป็นการบอก วัน/เดือน ตามแบบจันทรคติ เช่น
โปรดเกล้า ฯ อ่านว่า โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
กรุงเทพ ฯ อ่านว่า กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุตยมหาดิลก ครบนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ (แต่ให้อ่านแค่ กรุงเทพมหานคร ตามการอ่านที่นิยมได้)
๗ ฯ ๑ อ่านว่า วันเสาร์ แรม ๙ค่ำ เดือนอ้าย(เดือนหนึ่ง)












ชนิดของประโยค
1. ประโยคบอกเล่า คือ ประโยคที่ผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการแจ้งเรื่องราวต่าง ๆ ให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านได้ทราบ เช่น
ฉันชื่นชอบการร้องเพลงมากกว่าอะไรทั้งสิ้น

2.ประโยคปฏิเสธ คือ ประโยคที่ผู้พูดหรือผู้เขียนปฏิเสธหรือไม่ยอมรับ เมื่อมีผู้ถามคำถาม เช่น
ฉันไม่ขายเรือนหลังนี้เด็ดขาด
เขาไม่ใช่คนไทยแท้ ๆ
เธอมิอาจล่วงรู้ใจของฉันได้

3. ประโยคคำสั่ง คือ ประโยคที่ผู้พูดหรือผู้เขียนขอร้อง อ้อนวอน หรือสั่งให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น
ได้โปรดให้ความยุติธรรมกับคนยากไร้เถิดท่าน
กรุณาเก็บหนังสือไว้ที่ชั้นเดิม หลังจากอ่านเสร็จแล้ว
เธอเดินนำหน้าไปก่อนสิ

4. ประโยคคำถาม คือ ประโยคที่ผู้พูดหรือผู้เขียนใช้ถามผู้ฟังหรือผู้อ่านเพื่อให้ตอบในสิ่งที่ต้องการทราบ สามารถแบ่งได้เป็น ๒ ชนิด คือ คำถามสามัญและคำถามท้ายประโยค ซึ่งทำให้เกิดประโยคคำถาม ๒ ชนิด คือ คำถามชนิดขอข้อความและคำถามที่มีคำแสดงคำถามลงท้ายประโยค
4.1 คำถามชนิดขอข้อความ คือคำถามที่ต้องการถามเพื่อทราบคำตอบที่เป็นข้อความ มักปรากฎคำว่า “ใคร ทำไม ที่ไหน ฯลฯ” อยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ ที่เป็นส่วนที่จะถาม เช่น
ใครเป็นผู้ออกแบบอาคารแห่งนี้
ทำไม มนุษย์ถึงต้องห้ำหั่นกันเอง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตั้งอยู่ที่ไหน
4.2 คำถามที่มีคำแสดงคำถามลงท้ายประโยค คือ คำถามที่ตั้งการถามเพื่อทราบคำตอบที่เป็นการตอบรับหรือปฏิเสธ มักปรากฏคำว่า “หรือ หรือเปล่า ใช่ไหม ดีไหม จริงไหม ฯลฯ” ในส่วนท้ายของประโยค เช่น
ฉันทำการบ้านข้อนี้ถูกแล้วใช่ไหม
พวกเราไปเที่ยวทะเลกันสักทีดีไหม
วันพรุ่งนี้คือวันครบรอบวันเกิดของแม่หรือเปล่า




ประโยคทั้ง 4 ชนิด มีความเหมือน และความแตกต่างดังต่อไปนี้
1. ประโยคบอกเล่ากับประโยคปฏิเสธ มีดังนี้
ความเหมือน
1. ประโยคทั้ง 2 ชนิด จะมีส่วนขยายที่เป็นกาลหรือลักษณะการก็ได้
2. กริยาวลีในประโยคทั้ง 2 ชนิด จะมีนามวลีที่มีการสัมพันธ์ชนิดใดอยู่ด้วยก็ได้

ความต่าง
ประโยคปฏิเสธ จะมีคำว่า มิ หรือไม่ ต่างจากประโยคบอกเล่าที่ไม่มี

ตัวอย่าง
ผมยาวสลวยสีทองตัดกับนัยน์ตาสีฟ้าอมเทาของเธอ
หน้าตาของเธอไม่สะสวยเสียนิดเดียว

2. ประโยคบอกเล่าและปฏิเสธกับประโยคคำสั่ง มีดังนี้

ความต่าง
1. ประโยคคำสั่งไม่สามารถใส่คำแสดงกาลและลักษณะการใด ๆ ได้ ยกเว้นลักษณะการปกติ
เช่น นอนกันเถอะ นอนกันเถอะ
เคยนอนกันเถอะ กำลังนอนกันเถอะ
จะนอนกันเถอะ นอนกันแล้วเถอะ

2. ประโยคคำสั่งต้องมีนามวลีที่เป็นสรรพนามบุรุษที่ 2 อยู่ในประโยค แม้ว่าจะลดรูปไปแล้วหรือไม่ก็ตาม เช่น
กรุณาเลือกผมเถิดครับ
คุณกรุณาเลือกผมเถิดครับ
พวกท่าน กรุณาเลือกผมเถิดครับ

3. ประโยคคำถามกับประโยคบอกเล่า และประโยคปฏิเสธมีดังนี้
ความต่าง
ประโยคคำถามจะมีคำถามอยู่ในประโยคด้วยส่วนประโยคบอกเล่าและปฏิเสธนั้นไม่มี

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2551

คำนาม

คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ อาคาร สภาพ และลักษณะทั้งสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม คำนามแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ
1.สามานยนาม คือ คำนามสามัญที่ใช้เป็นชื่อทั่วไป หรือเป็นคำเรียกสิ่งต่างๆ โดยทั่วไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น คน , รถ , หนังสือ, กล้วย เป็นต้น สามานยนามบางคำมีคำย่อยเพื่อบอกชนิดย่อยๆของสิ่งต่างๆ เรียกว่า สามานยนามย่อย เช่น คนไทย , รถจักรายาน , หนังสือแบบเรียน , กล้วยหอม เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
ดอกไม้อยู่ในแจกัน แมวชอบกินปลา
2.วิสามานยนาม คือ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะของคน สัตว์ สถานที่ หรือเป็นคำเรียกบุคคล สถานที่เพื่อเจาะจงว่าเป็นคนไหน สิ่งใด เช่น ธรรมศาสตร์ , วัดมหาธาตุ , รามเกียรติ์ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
นิดและน้อยเป็นพี่น้องกัน อิเหนาได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของกลอนบทละคร
3.ลักษณนาม คือ คำนามที่ทำหน้าที่ประกอบนามอื่น เพื่อบอกรูปร่าง ลักษณะ ขนาดหรือปริมาณของนามนั้นให้ชัดเจนขึ้น เช่น รูป , องค์ , กระบอก เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
คน 6 คน นั่งรถ 2 คน ผ้า 20 ผืน เรียกว่า 1 กุลี
4.สมุหนาม คือ คำนามบอกหมวดหมู่ของสามานยนาม และวิสามานยนามที่รวมกันมากๆ เช่น ฝูงผึ้ง , โขลงช้าง , กองทหาร เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
กองยุวกาชาดมาตั้งค่ายอยู่ที่นี่ พวกเราไปต้อนรับคณะรัฐมนตรี
5.อาการนาม คือ คำเรียกสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่มีขนาด จะมีคำว่า "การ" และ "ความ" นำหน้า เช่น การกิน , กรานอน , การเรียน , ความสวย , ความคิด , ความดี เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
การวิ่งเพื่อสุขภาพไม่ต้องใช้ความเร็ว การเรียนช่วยให้มีความรู้
ข้อสังเกต คำว่า "การ" และ "ความ" ถ้านำหน้าคำชนิดอื่นที่ไม่ใช่คำกริยา หรือวิเศษณ์จะไม่นับว่าเป็นอาการนาม เช่น การรถไฟ , การประปา , ความแพ่ง เป็นต้น คำเหล่านี้จัดเป็นสามานยนาม



หน้าที่ของคำนาม
1.ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น
น้องร้องเพลง ครูชมนักเรียน นกบิน
2.ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น
แมวกินปลา ตำรวจจับผู้ร้าย น้องทำการบ้าน
3.ทำหน้าที่เป็นส่วยขยายคำอื่น เช่น
สัตว์ป่าต้องอยู่ในป่า ตุ๊กตาหยกตัวนี้สวยมาก นายสมควรยามรักษาการเป็นคนเคร่งครัดต่อหน้าที่มาก
4.ทำหน้าที่ขยายคำกริยา เช่น
แม่ไปตลาด น้องอยู่บ้าน เธออ่านหนังสือเวลาเช้า
5.ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของคำกริยาบางคำ เช่น
เขาเหมือนพ่อ เธอคล้ายพี่ วนิดาเป็นครู เธอคือนางสาวไทย มานะสูงเท่ากับคุณพ่อ
6.ทำหน้าที่ตามหลังบุพบท เช่น
เขาเป็นคนเห็นแก่ตัว พ่อนอนบนเตียง ปู่ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล
7.ทำหน้าที่เป็นคำเรียกขาน เช่น
คุณครูคะหนูยังไม่เข้าใจเลขข้อนี้ค่ะ คุณหมอลูกดิฉันจะหายป่วยไหม นายช่างครับผมขอลากิจ 3 วัน

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ข่าว


ข่าวบันเทิง

ข่าวIT ประจำวัน

คลังบทความของบล็อก